3 ประเภท เสา สำหรับสร้างบ้าน | เลือกใช้อย่างไรให้เหมาะสม
S.J.Building สรุปให้
-
เสา มี 3 ประเภทหลักสำหรับการก่อสร้างบ้าน ได้แก่ เสาไม้ เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก และเสาเหล็ก
-
เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ได้รับความนิยมมาก เพราะมีความแข็งแรง ทนทาน รับแรงได้ดี
-
ขนาดเสาบ้านชั้นเดียวที่ใช้กันบ่อยคือ หน้าตัด 4-6 นิ้ว ความสูง 2.5-2.8 เมตร
-
การติดตั้งเสาต้องผ่านกระบวนการที่ถูกต้อง ตั้งแต่การตรวจสอบแบบ ผูกเหล็ก ติดตั้งแบบหล่อ เทคอนกรีต
-
มาตรฐานเสาโครงสร้างจะแตกต่างกันตามวัสดุและประเภทของเสา ควรเลือกให้เหมาะกับลักษณะบ้าน
เสา คือโครงสร้างหลักของอาคาร มีหน้าที่รับน้ำหนักทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นพื้นชั้นล่าง ชั้นบน ผนัง และหลังคา เปรียบเสมือนกระดูกของบ้าน ถ้าเลือกประเภทและขนาดไม่เหมาะสม อาจส่งผลให้บ้านไม่แข็งแรง หรือเกิดความเสียหายในภายหลังได้
บทความนี้ S.J.Building ขอเสนอเกี่ยวกับประเภทของเสาบ้าน การกำหนดขนาดกับรูปแบบที่เหมาะสม ขั้นตอนการติดตั้ง รวมถึงมาตรฐานเบื้องต้นที่ควรรู้ เพื่อให้คุณสามารถเลือกใช้เสาสร้างบ้านได้อย่างมั่นใจและเหมาะสมกับความต้องการค่ะ
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- S.J.Building สรุปให้
- เสา คืออะไร และมีหน้าที่อย่างไรในโครงสร้างอาคาร
- ประเภทของเสาที่ใช้ในการก่อสร้าง
- การกำหนดขนาดและรูปแบบ เสาบ้านชั้นเดียว
- ขั้นตอนการติดตั้งเสาสำหรับสร้างบ้าน
- มาตรฐานเบื้องต้นสำหรับงาน เสาโครงสร้าง
เสา คืออะไร และมีหน้าที่อย่างไรในโครงสร้างอาคาร
เสา โครงสร้างที่สำคัญสำหรับสิ่งก่อสร้าง ทำหน้าที่พยุงตัวบ้านเอาไว้ มีลักษณะเป็นแท่งหรือทรงกระบอกที่ตั้งในแนวดิ่ง เพื่อรับน้ำหนักของโครงสร้างทั้งหมดกับถ่ายน้ำหนักลงสู่ฐานราก และมีหน้าที่สำคัญในโครงสร้างอาคาร ดังนี้
- รับน้ำหนักในแนวดิ่ง เสาต้องแบกรับน้ำหนักของอาคารทั้งหลัง ทั้งจากหลังคา คาน พื้น และผนัง
- ต้านทานแรงด้านข้าง ช่วยต้านทานแรงลม แรงสั่นสะเทือน หรือแรงจากแผ่นดินไหว
- เสริมความมั่นคงให้โครงสร้าง ทำให้อาคารคงรูปและยืนหยัดได้อย่างมั่นคง
-
กำหนดรูปทรงกับขนาดของอาคาร ช่วยในการจัดวางพื้นที่ใช้สอยและกำหนดลักษณะทางสถาปัตยกรรม
ถ้าเสาเกิดการพังทลาย มักส่งผลให้โครงสร้างทั้งหลังพังถล่มลงมา จึงต้องมีการเสริมความแข็งแรง เพื่อให้สามารถต้านทานแรงต่าง ๆ ที่กระทำต่อโครงสร้างค่ะ
ประเภทของเสาที่ใช้ในการก่อสร้าง
ในการก่อสร้างบ้านในประเทศไทย เสาที่ใช้มี 3 ประเภทหลัก ได้แก่
1. เสาไม้
เสาไม้ มักพบได้ในบ้านเรือนสมัยเก่า โดยส่วนใหญ่ใช้วัสดุจากไม้ในการก่อสร้าง มักเลือกใช้ไม้แข็งที่มีคุณสมบัติพิเศษคือ ปลวกหรือแมลงไม่กัดกิน และมีการดัดหรือบิดจากความชื้นน้อย
ข้อดีของเสาไม้ | ข้อเสียของเสาไม้ |
---|---|
|
|
2. เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก
เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ทำมาจากคอนกรีตที่เสริมเหล็ก เพื่อเพิ่มกำลังให้สามารถรับแรงอัด แรงดัด และแรงดึงได้มากยิ่งขึ้น รวมทั้งทนไฟ ทนน้ำหรือความชื้นได้ดีขึ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภทย่อย ได้แก่
-
เสาคอนกรีตหล่อในที่ กระบวนการนี้ทำที่หน้างานโดยตรง เริ่มจากการขึ้นโครงแบบหล่อ (สำหรับงานสร้างบ้านมักใช้ไม้) แล้วผูกเหล็กเส้นด้านในเพื่อกำหนดรูปทรง จากนั้นเทคอนกรีตลงในแบบหล่อ
-
เสาคอนกรีตเสริมเหล็กสำเร็จรูป ผลิตจากโรงงานแล้วขนส่งมาติดตั้งที่หน้างาน วิธีนี้ช่วยลดระยะเวลาในการก่อสร้าง
ข้อดีของเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก | ข้อเสียของเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก |
---|---|
|
|
3. เสาเหล็ก
เสาเหล็ก แบ่งได้ 2 ประเภทหลัก คือโครงข้อแข็งและรูปพรรณ โดยเสาเหล็กรูปพรรณมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ตามความเหมาะสม เช่น เหล็กรูปตัวไอ (I-Beam) กับตัวเฮช (H-Beam) สำหรับอาคารขนาดใหญ่ที่รับแรงมาก ขณะที่เหล็กกล่อง (Tube) เหมาะกับบ้านพักอาศัยและอาคารขนาดเล็กค่ะ
ข้อดีของเสาเหล็ก | ข้อเสียของเสาเหล็ก |
---|---|
|
|
การกำหนดขนาดและรูปแบบ เสาบ้านชั้นเดียว
ความแข็งแรงปลอดภัยของบ้านชั้นเดียว ขึ้นอยู่กับการเลือกขนาดและรูปแบบของเสาที่เหมาะสม ดังนี้
ขนาดเสาบ้านชั้นเดียวที่นิยมใช้
สำหรับบ้านชั้นเดียวทั่วไป แนะนำให้ใช้เสาขนาดหน้าตัด 4-6 นิ้ว (10-15 ซม.) ส่วนความสูงมาตรฐานอยู่ที่ 2.5-2.8 เมตร แต่สามารถเพิ่มความสูงได้ถึง 2.8-3.2 เมตร เพื่อให้บ้านดูโปร่งและโล่งสบายขึ้น
ปัจจัยที่มีผลต่อการกำหนดขนาดเสา
ปัจจัยหลัก 3 ประการที่ส่งผลโดยตรงต่อการรับน้ำหนักของเสาบ้าน ได้แก่ จำนวนชั้นของอาคาร ความยาวของช่วงคาน และน้ำหนักบรรทุกจร (Live Load) ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น แล้วยังมีปัจจัยอื่น ๆ ที่ควรพิจารณา ได้แก่
- รูปแบบและสไตล์ของบ้าน เช่น สไตล์โมเดิร์นอาจต้องการเสาขนาดใหญ่กว่า เพื่อความแข็งแรง
- งบที่มี เพราะเสาขนาดใหญ่จะมีราคาสูงกว่า
- ระยะห่างระหว่างเสา เช่น 4 x 4 เมตร คือระยะที่ใช้กันบ่อย เพราะเป็นขนาดเดียวกับวัสดุส่วนใหญ่ในท้องตลาด
- ภูมิอากาศและสภาพพื้นที่ เพราะพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติอาจต้องการเสาที่แข็งแรงกว่าปกติ
รูปแบบของเสาบ้านชั้นเดียว
รูปแบบของเสาบ้านชั้นเดียวที่พบได้บ่อย มีดังนี้
- เสาสี่เหลี่ยมจัตุรัส รูปแบบมาตรฐานที่ใช้กันมากที่สุด
- เสาสี่เหลี่ยมผืนผ้า เหมาะสำหรับการรับน้ำหนักในทิศทางเฉพาะ
- เสากลม ใช้ในบ้านสไตล์โมเดิร์นหรือร่วมสมัย
- เสาตกแต่ง มีรูปแบบหลากหลายตามสไตล์การออกแบบ
สำหรับการเลือกขนาดเสาของบ้านชั้นเดียวที่มีพื้นที่น้อยหรือบ้านพักตากอากาศมักใช้ขนาด 20x20 ซม. ส่วนขนาด 25x25 ซม. เป็นขนาดมาตรฐานที่ใช้ได้ทั่วไปกับบ้านพักอาศัยหนึ่งหรือสองชั้นค่ะ
ขั้นตอนการติดตั้งเสาสำหรับสร้างบ้าน
การติดตั้งเสาบ้านให้มีคุณภาพและได้มาตรฐาน ต้องผ่านขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1. การตรวจสอบแบบและวางตำแหน่งเสา
ตรวจสอบขนาดและตำแหน่งของเสาจากแบบก่อสร้าง แล้วใช้ไม้ปักหมุดกับเชือกขึง เพื่อกำหนดตำแหน่งให้ถูกต้อง
2. การเตรียมฐานราก
เริ่มจากขุดหลุมฐานรากให้ได้ขนาดและความลึกตามที่กำหนด โดยปกติจะลึกราว 1-1.5 เมตร เมื่อขุดเสร็จแล้ว ให้เทคอนกรีตหยาบรองพื้นกับวางแบบหล่อหล่อฐานราก
3. การผูกเหล็กเสริมแกนเสา
การผูกเหล็กสำหรับงานเสาต้องปฏิบัติตามแบบก่อสร้างอย่างเคร่งครัด ต้องจัดวางเหล็กแกนให้อยู่ตรงศูนย์กลาง แล้วต่อทาบเหล็กตามระยะที่ระบุในแบบหรือตามมาตรฐานกำหนด เหล็กที่ใช้ในการผูกเสาบ้านมีดังนี้
- เหล็กแกนเสา มักใช้เหล็กเส้นกลมหรือข้ออ้อยขนาด 12 มม. หรือ 16 มม. ตามการออกแบบ
-
เหล็กปลอก ส่วนใหญ่จะใช้เหล็กเส้นกลมขนาด 6 มม. หรือ 9 มม. ระยะห่างตามที่กำหนดในแบบ
4. การติดตั้งแบบหล่อเสา
หลังจากเสริมเหล็กเสร็จแล้ว ให้ทำการติดตั้งแบบหล่อเสา ที่เป็นโครงสร้างชั่วคราวสำหรับขึ้นรูปเสาคอนกรีตให้ได้รูปทรงและขนาดตามต้องการ โดยแบบหล่อที่ใช้กันบ่อยมีหลายประเภท ได้แก่
- แบบหล่อไม้ ใช้ในงานก่อสร้างทั่วไป ราคาไม่แพง
- แบบหล่ออะลูมิเนียม รูปแบบที่มักใช้กันสำหรับงานก่อสร้างตึกที่ต้องการโครงเสาสูง ช่วยลดแรงในการก่อสร้าง แต่มีน้ำหนักเบา
-
แบบหล่อพลาสติก ให้ผิวคอนกรีตที่สวยงาม เรียบเนียน มีน้ำหนักเบา มีความคงทนต่อการใช้งานในระดับหนึ่ง สามารถนำมาใช้งานซ้ำได้
5. การเทคอนกรีต
การเตรียมงานก่อนเทคอนกรีต เริ่มด้วยการราดน้ำบนแบบหล่อให้ชุ่ม เพื่อป้องกันไม่ให้แบบหล่อดูดน้ำจากคอนกรีต จากนั้น เทปูนทราย (ปูนซีเมนต์ผสมทราย) ลงไปก่อนเล็กน้อยเพื่อช่วยเคลือบผิวแบบหล่อและเหล็กเสริมค่ะ
เมื่อเตรียมการเรียบร้อยแล้ว การเทคอนกรีตสามารถทำได้หลายวิธี เช่น เทจากถังปูน เทด้วยกระบะ (Buckets) เทผ่านท่อผ้าใบ หรือการใช้รถปั๊มคอนกรีต (สำหรับงานขนาดใหญ่)
6. การบ่มคอนกรีตและถอดแบบ
หลังจากเทคอนกรีตเสร็จ ต้องทำการบ่มคอนกรีตโดยการรักษาความชื้นไว้อย่างน้อย 7 วัน จากนั้นค่อย ๆ ถอดแบบหล่อออกด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อเสาคอนกรีตค่ะ
มาตรฐานเบื้องต้นสำหรับงาน เสาโครงสร้าง
เพื่อความแข็งแรงและปลอดภัยของบ้าน งานเสาโครงสร้างจำเป็นต้องมีมาตรฐานกำกับ โดยแต่ละประเภทก็มีข้อกำหนดที่แตกต่างกัน ดังนี้
1. มาตรฐานเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก
เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก ตามมาตรฐานการออกแบบและก่อสร้างของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) ที่มีข้อกำหนดดังนี้
- คุณภาพของคอนกรีต ต้องมีกำลังอัดไม่น้อยกว่า 240 กก./ตร.ซม. สำหรับบ้านพักอาศัย
- เหล็กแกนเสาต้องมีขนาดกับจำนวนตามที่กำหนดในแบบ และการผูกเหล็กปลอกต้องเป็นไปตามมาตรฐาน
- เหล็กเสริมต้องมีระยะหุ้มคอนกรีตไม่น้อยกว่า 2.5 ซม.
-
ค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ของขนาดเสา คือสามารถมีขนาดน้อยกว่าในแบบได้ไม่เกิน 6 มิลลิเมตร
2. มาตรฐานเสาเหล็ก
เสาเหล็กต้องได้มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) และมาตรฐานวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย (วสท.) โดยมีข้อกำหนดสำคัญดังนี้
- คุณภาพของเหล็ก ต้องเป็นเหล็กที่ได้มาตรฐาน ไม่มีรอยร้าว หรือตำหนิที่ส่งผลต่อความแข็งแรง
- การเชื่อมต่อต้องทำโดยช่างที่มีความรู้และใช้เทคนิคที่ถูกต้อง
- ต้องมีการทาสีกันสนิมหรือเคลือบผิวเพื่อป้องกันการกัดกร่อน
-
ต้องมีการห่อหุ้มด้วยวัสดุทนไฟตามมาตรฐานการป้องกันอัคคีภัย
3. มาตรฐานเสาไม้
เสาไม้ต้องเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.) มีข้อกำหนดดังนี้
- คุณภาพของไม้ ต้องเป็นไม้ที่แห้งสนิท ไม่มีตาไม้ หรือรอยแตกร้าวที่ส่งผลต่อความแข็งแรง
- ต้องมีการอาบน้ำยาป้องกันแมลงและปลวก
- การเชื่อมต่อไม้ ต้องทำอย่างแน่นหนาและมีความแข็งแรง
-
ต้องมีการเคลือบผิวเพื่อป้องกันความชื้น
ข้อควรระวังและการตรวจสอบ
ปัญหาโครงสร้างแตกร้าว เอนตัว หรือเกิดโพรงในบ้าน มีสาเหตุสำคัญมาจากการก่อสร้างที่ไม่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะการเลือกใช้แบบหล่อเสาที่คุณภาพต่ำ อาจไม่แข็งแรงพอหรือโก่งงอได้ง่าย เพื่อความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัย ควรหมั่นตรวจสอบสภาพโครงสร้างส่วนนี้อย่างสม่ำเสมอ โดยสังเกตสัญญาณเตือนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ ดังนี้
- รอยร้าวในเสา อาจเกิดจากแบบหล่อที่ไม่ดี หรือแบบเคลื่อน เครื่องยึดเหนี่ยวหลุด ทำให้หล่อเสาปูนได้ไม่เต็ม
- เสามีรอยร้าวแนวดิ่ง เกิดจากการใช้ปูนซีเมนต์ในแบบหล่อเสาบ้านที่คุณภาพต่ำ ระยะหุ้มน้อย ทำให้ไม่สามารถรับน้ำหนักพื้นด้านบนที่มากเกินไปได้
-
น้ำขังสะสม อาจทำให้เหล็กข้างในเป็นสนิม
สรุป
เสา คือโครงสร้างหลักที่ทำหน้าที่รับน้ำหนักของบ้านทั้งหลัง มี 3 ประเภทหลัก ได้แก่ ไม้ คอนกรีตเสริมเหล็ก และเหล็ก แต่ละประเภทมีคุณสมบัติต่างกัน แต่เสาคอนกรีตเสริมเหล็กถูกเลือกใช้บ่อยที่สุด ด้วยคุณสมบัติด้านความแข็งแรง ทนทาน ทนไฟ และทนความชื้น
การเลือกขนาดเสาบ้านให้เหมาะสมต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย เช่น น้ำหนักที่ต้องรับ จำนวนชั้น และลักษณะการใช้งาน โดยทั่วไปบ้านชั้นเดียวมักใช้เสาหน้าตัดขนาด 4-6 นิ้ว สูง 2.5-2.8 เมตร มีระยะห่างมาตรฐานระหว่างเสาประมาณ 4x4 เมตร
การติดตั้งเสาต้องทำตามขั้นตอนที่ถูกต้องตามหลักวิศวกรรม ตั้งแต่การตรวจสอบแบบ การผูกเหล็ก การติดตั้งแบบหล่อ การเทคอนกรีต และการบ่มคอนกรีต การตรวจเช็คสภาพเสาอย่างสม่ำเสมอจะช่วยป้องกันปัญหา เช่น รอยร้าว การเอนตัว หรือความเสียหายจากความชื้น ทำให้ช่วยยืดอายุการใช้งานของโครงสร้างบ้านได้ค่ะ