share

“งานก่อสร้าง” ทุกประเภท มีอะไรบ้าง [มือใหม่ควรอ่าน]

Last updated: 20 May 2024
2342 Views
งานก่อสร้าง ทุกประเภท มีอะไรบ้าง

ทุก ๆ คนย่อมเข้าใจคำว่า งานก่อสร้าง กันอยู่แล้วจริงไหมครับ แม้ว่าคุณจะไม่ได้ทำอาชีพที่เกี่ยวกับการก่อสร้างเลยก็ตาม สำหรับผม คำว่า “งานก่อสร้าง” ก็ทำให้นึกถึงไซต์งาน ที่มีคนทำงานมากมาย แต่ก็ไม่เคยเข้าใจเลยว่า งานก่อสร้างมีอะไรบ้างนะ

ในบทความนี้ เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ความหมาย และประเภทของงานก่อสร้างกันครับรวมถึงแหล่งที่มา การว่าจ้างงานให้กับผู้รับเหมาไปด้วยเลย หวังว่าจะมีประโยชน์นะครับ

เลือกอ่านตามหัวข้อ

งานก่อสร้าง คืออะไร

งานก่อสร้าง (Construction) คือการกระทำที่ทำให้เกิดการประกอบ เป็นอาคาร โครงสร้าง หรือระบบสาธารณูประโภคขึ้นมาใหม่ ด้วยวัสดุก่อสร้าง ซึ่งมักจะหมายถึงงานทางด้านโยธาเป็นส่วนมาก แต่ก็รวมถึงการซ่อมแซม ปรับปรุง ต่อเติม และการรื้อถอนด้วยเช่นกัน

อ้างอิงจาก : พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้าง และบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๖๐

การทำงานโดยทั่วไป ของงานก่อสร้าง จะมีขั้นตอนดังนี้

  1. วางแผนการทำงาน เป็นการคิด Schedule การทำงานทั้งหมด เพื่อให้เห็นภาพรวมก่อนทำงานจริง
  2. การออกแบบ เป็นหน้าที่ของสถาปนิก และวิศวกร ที่จะต้องออกแบบโครงสร้างกับระบบตามที่ผู้ว่าจ้างต้องการ ให้สามารถก่อสร้างได้จริง
  3. เตรียมพื้นที่ เป็นการเตรียมที่ดินให้แน่นอน ก่อนที่จะปลูกสร้างใด ๆ
  4. การก่อสร้าง เป็นการก่อสร้างโครงสร้างตามแบบที่รับอนุมัติแล้ว
  5. การติดตั้งระบบ เป็นการวางระบบต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องใช้ เช่น ระบบไฟฟ้า-ประปา

งานก่อสร้างมีความสำคัญต่อการพัฒนาสังคม และเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก เพราะที่เราได้เห็นถนน สะพาน โรงพยาบาล โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า และอื่น ๆ ล้วนเป็นผลลัพธ์จากการทำงานของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง เช่น ผู้ว่าจ้าง คนออกแบบ ผู้ควบคุมงานก่อสร้าง เป็นต้น

4 ประเภทงานก่อสร้าง

ประเภทของงานก่อสร้างมีหลายแบบ อาจขึ้นอยู่กับลักษณะ ขนาด และวัตถุประสงค์ของโครงการ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ดังนี้

  • งานก่อสร้างที่พักอาศัย (Residential Construction)

เป็นการก่อสร้าง บ้านพักอาศัยที่ออกแบบเพื่อการอยู่อาศัยของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นบ้านเดี่ยว บ้านแฝด อพาร์ตเมนต์ และคอนโดมิเนียม

  • งานก่อสร้างอาคารสาธารณะ (Building Construction)

เป็นการก่อสร้างที่ใช้เป็นสถานที่บริการสาธารณะ หรือใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติงาน และสามารถรองรับคนจำนวนมากได้ เช่น สำนักงาน โรงเรียน โรงพยาบาล โบสถ์ โรงภาพยนตร์ คลังสินค้า อาคารพาณิชย์ เป็นต้น

  • ประเภทงานโยธา (Heavy Engineering Construction)

เป็นการก่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ ที่มีความซับซ้อน เช่น สะพาน ถนน สนามบิน อุโมงค์ เขื่อน และงานชลประทาน เป็นต้น

งานก่อสร้างประเภทนี้ จะต้องใช้ความรู้และทักษะทางวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering) ในการออกแบบ คำนวณ วิเคราะห์ และมีหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้าง ให้เป็นไปตามเป้าหมายและข้อกำหนด

  • ประเภทงานก่อสร้างเพื่ออุตสาหกรรม (Industrial Construction)

เป็นงานก่อสร้างประเภทโรงงานอุตสาหกรรมหนัก เช่น โรงกลั่นน้ำมัน โรงถลุงแร่และเหล็ก โรงงานผลิตภัณฑ์เคมี โรงไฟฟ้าพลังปรมาณู และโรงงานอุตสาหกรรมหนักต่าง ๆ

การก่อสร้างประเภทนี้ผู้ออกแบบและก่อสร้าง จะต้องมีความรู้ และมีประสบการณ์ด้านวิศวกรรมในแขนงต่าง ๆ สูงมาก ไม่เพียงแต่วิศวกรรมโยธาเพียงเท่านั้น แต่เป็นวิศวกรรมแขนงอื่น ๆ ตามแต่ละอุตสาหกรรม นั่นเองครับ

แหล่งที่มาของงานก่อสร้าง

ตามข้อมูลจากกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ แหล่งที่มาของการจ้างงานก่อสร้างในประเทศไทย สามารถแบ่งออกเป็น 3 แหล่งหลัก ดังนี้

1. ภาคเอกชน

ในส่วนภาคเอกชน ที่เป็นผู้ลงทุนในการก่อสร้าง โดยจะต้องพิจารณาถึงผลกำไร-ขาดทุนของโครงการ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ

  • โครงการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เช่น โรงงาน สำนักงาน อสังหาริมทรัพย์ เพื่อขายหรือบริการ
  • โครงการที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ จะเป็นการก่อสร้างที่อยู่อาศัย เช่น บ้านเดี่ยว ทาวน์เฮ้าส์

2. ภาครัฐวิสาหกิจ

ในส่วนภาครัฐวิสาหกิจ จะเป็นหน่วยงานของรัฐบาล ที่มีการดำเนินธุรกิจแบบเอกชน ที่ให้บริการเพื่อสร้างรายได้ให้กับหน่วยงาน ซึ่งจะมีการลงทุนโครงการก่อสร้างจากงบประมาณแผ่นดิน  เช่น ทางด่วน ท่าเทียบเรือ โรงไฟฟ้า น้ำประปา เป็นต้น

3. ภาคราชการ

ในส่วนภาคราชการ จะเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่มีการดำเนินการโดยไม่แสวงหาผลกำไร แต่ทำเพื่อให้บริการสาธารณูประโภคแก่ประชาชน เช่น ทางหลวงแผ่นดิน เขื่อนและคลองส่งน้ำ ถนนและสะพานในเขตพื้นที่เมือง เป็นต้น

สรุป

สรุปแล้ว งานก่อสร้าง หมายถึงการก่อสร้างขึ้นใหม่ และรวมถึงการซ่อมแซม ปรับปรุง ต่อเติม และการรื้อถอน ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก คือการก่อสร้างที่พักอาศัย อาคารสาธารณะ งานประเภทโยธา และงานก่อสร้างเพื่ออุตสาหกรรม

เราจะเห็นว่าการก่อสร้าง มีความหลากหลาย และมีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศเป็นอย่างมาก เพราะงานก่อสร้างสามารถบ่งชี้ความเจริญของชุมชนได้อย่างชัดเจน และยังช่วยให้เกิดการจ้างงานให้กับคนในระแวกนั้นอีกด้วย

บทความที่เกี่ยวข้อง
วัสดุก่อสร้าง วัสดุก่อ คืออะไร? มีอะไรบ้าง
พาไปรู้จัก วัสดุก่อสร้าง แต่ละชนิด ทั้งประเภทตามลักษณะวัตถุ และตามการใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของอาคาร พร้อมแนะนำการเลือกใช้วัสดุก่อให้เหมาะสม
20 May 2024
ผู้รับเหมา คือใคร
การเลือก ผู้รับเหมา แบบรายย่อยหรือนิติบุคคล ในโครงการก่อสร้าง ควรต้องเข้าใจหลักคิดการคัดกรองผู้รับเหมาที่ดี เพื่อให้งานก่อสร้างประสบความสำเร็จ
17 Feb 2024
6 ขั้นตอน เปิดบริษัทรับเหมาก่อสร้าง
เปิดบริษัทรับเหมาก่อสร้าง หน้าที่ของผู้รับเหมาที่มีรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี หรือถ้าอยากเปิดบริษัทรับเหมาก่อสร้างของตนเอง มีขั้นตอนยังไงบ้าง บทความนี้มีคำตอบ
18 Jan 2024
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy