การเลือกใช้ อิฐ สำหรับผนังภายนอกและภายในอาคาร พร้อมขั้นตอนการก่อ
S.J.Building สรุปให้
-
อิฐ คือวัสดุก่อสร้างพื้นฐานที่ใช้มาตั้งแต่สมัยโบราณ มีหลายประเภท เช่น อิฐมอญ อิฐบล็อก อิฐมวลเบา อิฐขาว
-
อิฐมอญหรืออิฐแดง เหมาะสำหรับงานผนังภายนอก มีความแข็งแรงทนทาน เหมาะกับการเจาะยึดวัสดุ แต่มีน้ำหนักมากและสะสมความร้อน
-
อิฐบล็อก ราคาถูกที่สุด เหมาะสำหรับงานก่อสร้างที่ต้องการลดต้นทุน ก่อได้รวดเร็ว แต่ไม่เหมาะกับผนังห้องน้ำเพราะมีโอกาสรั่วซึมสูง
-
อิฐมวลเบา มีน้ำหนักเบา เป็นฉนวนกันความร้อนที่ดี เหมาะกับห้องนอนและห้องนั่งเล่น
-
อิฐขาว ผลิตจากปูนขาวผสมทราย ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ทดแทนอิฐประเภทอื่น และมีราคาสูงกว่าอิฐประเภทอื่น
-
ขั้นตอนการก่ออิฐที่ถูกต้องเริ่มจากการเตรียมพื้นที่ เตรียมอิฐ ผสมปูนตามอัตราส่วน ก่ออิฐตามแนวและระดับ บ่มผนังให้ชุ่มชื้นอย่างสม่ำเสมอ
อิฐ วัสดุก่อสร้างที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน ปรากฏในการก่อสร้างสถาปัตยกรรมเก่าแก่ ทั้งกำแพงเมือง ปราสาท และวัดวาอารามมาตั้งแต่อาณาจักรละโว้กับทวาราวดี สมัยสุโขทัย จนถึงปัจจุบัน เพราะมีคุณสมบัติหลากหลายที่ยังคงตอบสนองความต้องการในงานก่อสร้างสมัยใหม่
บทความจาก S.J.Building จะพาไปทำความรู้จักอิฐก่อสร้างแต่ละชนิด เจาะลึกคุณสมบัติ ข้อดีข้อเสีย แนวทางการเลือกใช้ พร้อมแนะนำขั้นตอนการก่ออิฐ เพื่อสร้างผนังที่แข็งแรงและคงทน
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- S.J.Building สรุปให้
- อิฐ คืออะไร ?
- ชนิดของอิฐก่อสร้าง ที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม
- การเลือกอิฐ สำหรับสร้างบ้านและอาคาร
- ขั้นตอนการก่ออิฐ ให้ผนังมีความแข็งแรงทนทาน
อิฐ คืออะไร ?
อิฐ คือวัสดุก่อสร้างสำหรับผนัง รั้ว โครงสร้างอาคาร มีส่วนประกอบหลักจากดินเหนียว ทราย และส่วนผสมอื่นตามสูตรของแต่ละชนิด กระบวนการผลิตเริ่มจากการขึ้นรูปตามขนาดที่ต้องการ แล้วทำให้แข็งตัวด้วยวิธีตากแห้ง การเผา หรือการอบไอน้ำสำหรับอิฐมวลเบา
ประวัติการใช้อิฐในไทยมีมายาวนาน โดยเฉพาะสมัยอยุธยาที่เปลี่ยนมาใช้อิฐแทนไม้ในการสร้างกำแพงเมือง เพื่อเพิ่มความคงทนแข็งแรงต่อการรุกราน ด้วยคุณสมบัติความทนทานนี้ ทำให้อิฐกลายเป็นวัสดุสำคัญในการก่อสร้างและมีการพัฒนารูปแบบมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันค่ะ
ชนิดของอิฐก่อสร้าง ที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม
อิฐก่อสร้างที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรมมีหลายประเภท แต่ละประเภทก็มีคุณสมบัติและการใช้งานที่แตกต่างกัน ได้แก่
1. อิฐมอญหรืออิฐแดง
อิฐมอญ หรือ อิฐแดง คือวัสดุก่อสร้างแบบธรรมชาติที่พบได้ง่าย ทำมาจากทราย ดินเหนียว ขี้เถ้าแกลบ น้ำสะอาด โดยนำดินเหนียวมาเผ เพื่อให้วัสดุคงรูปและแข็งแรง จุดเด่นคือมีสีส้มแดง ดูงดงามคลาสสิก ตอบสนองการใช้งานที่หลากหลาย ทั้งงานภายนอกและภายใน
ข้อดีของอิฐมอญ | ข้อเสียของอิฐมอญ |
---|---|
|
|
2. อิฐบล็อก
อิฐบล็อก ผลิตมาในลักษณะอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่จะมีสีเทา ทำมาจากทรายหยาบ และซีเมนต์ มีราคาถูกที่สุดเมื่อเทียบกับอิฐชนิดอื่น ๆ ค่ะ
ข้อดีของอิฐบล็อก | ข้อเสียของอิฐบล็อก |
---|---|
|
|
3. อิฐมวลเบา
อิฐมวลเบา หรือคอนกรีตมวลเบา มีส่วนผสมของปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ ทรายละเอียด ปูนขาว ยิปชั่ม และอลูมิเนียม ผ่านการอบด้วยอุณหภูมิกับความดันสูง ทำให้เกิดฟองอากาศในเนื้ออิฐค่ะ
ข้อดีของอิฐมวลเบา | ข้อเสียของอิฐมวลเบา |
---|---|
|
|
4. อิฐขาว
อิฐขาว มีส่วนผสมคือปูนขาวและทราย ผ่านกระบวนการอัดด้วยเครื่องจักรที่มีความกดดันสูง 500 ตัน แล้วอบด้วยความร้อนสูง ถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่เพื่อทดแทนอิฐประเภทอื่น
ข้อดีของอิฐขาว | ข้อเสียของอิฐขาว |
---|---|
|
|
การเลือกอิฐ สำหรับสร้างบ้านและอาคาร
อิฐก่อสร้างมีหลายชนิด แต่ละชนิดมีคุณสมบัติกับข้อจำกัดแตกต่างกัน การเลือกใช้ให้สอดคล้องกับลักษณะงานจะส่งผลต่อความแข็งแรง ความทนทาน และรูปลักษณ์ของอาคาร การตัดสินใจเลือกควรพิจารณาจากปัจจัยต่าง ๆ ดังนี้
- งบในการก่อสร้าง
- วัตถุประสงค์ของการใช้งาน
- ความต้องการด้านความทนทานและอายุการใช้งาน
- ความต้องการด้านการป้องกันความร้อนและเสียง
- การบำรุงรักษาในระยะยาว
-
ความงามและรูปแบบการตกแต่ง
คุณสมบัติของอิฐแต่ละชนิดในการก่อสร้าง
เพื่อให้เข้าใจคุณสมบัติของอิฐก่อสร้างแต่ละชนิดได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ตารางเปรียบเทียบต่อไปนี้จะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างที่สำคัญค่ะ
คุณสมบัติ | อิฐมอญ | อิฐบล็อก | อิฐมวลเบา | อิฐขาว |
---|---|---|---|---|
ความแข็งแรง | สูง | ปานกลาง | สูง | สูงมาก |
น้ำหนัก | หนัก (130-180 กก./ตร.ม.) |
ปานกลาง | เบา (90 กก./ตร.ม.) |
ปานกลาง |
การเก็บเสียง | ดี | น้อย | ดีมาก | ดี |
เป็นฉนวนกันความร้อน | น้อย (สะสมความร้อน) |
ปานกลาง | ดีมาก | ดี |
ความทนต่อความชื้น | ดี | น้อย (รั่วซึมง่าย) |
น้อย | ดีมาก |
ความสะดวกในการก่อสร้าง | ยาก (ใช้เวลานาน) |
ง่าย (รวดเร็ว) | ปานกลาง | ปานกลาง |
ราคา | ปานกลาง | ถูกที่สุด | สูง | สูง |
จำนวนก้อนต่อ 1 ตร.ม. | 120-135 ก้อน | 12.5 ก้อน | 9 ก้อน | ประมาณ 10 ก้อน |
น้ำหนักของอิฐมอญต่อตารางเมตรสูงถึง 130 กก. มากที่สุดเมื่อเทียบกับชนิดอื่น ในขณะที่อิฐมวลเบามีน้ำหนักเพียง 90 กก. ต่อตารางเมตร จะช่วยลดน้ำหนักที่กระทำต่อโครงสร้างอาคารค่ะ
การเลือกใช้อิฐสำหรับผนังส่วนต่าง ๆ ของบ้าน
การเลือกใช้อิฐให้เหมาะกับส่วนต่าง ๆ ของบ้านจะช่วยเพิ่มการใช้งานและความคุ้มค่าในการก่อสร้าง ดังนี้
พื้นที่ใช้งาน | อิฐมอญ | อิฐบล็อก | อิฐมวลเบา | อิฐขาว |
---|---|---|---|---|
ผนังภายนอกอาคาร |
|
|
|
|
ห้องนอน ห้องนั่งเล่น |
|
|
|
|
ห้องน้ำ ห้องครัว |
|
|
|
|
ผนังกั้นห้องภายใน |
|
|
|
|
ผนังตกแต่ง ผนังโชว์แนวอิฐ |
|
|
|
|
ขั้นตอนการก่ออิฐ ให้ผนังมีความแข็งแรงทนทาน
การก่ออิฐที่ถูกต้องคือสิ่งสำคัญที่ทำให้ผนังมีความแข็งแรงทนทาน ไม่เกิดปัญหาแตกร้าวหรือรั่วซึมในภายหลัง มีขั้นตอนการก่อดังนี้
1. การเตรียมพื้นที่และวัสดุอุปกรณ์
โดยทั่วไปก่อนจะเริ่มงานก่ออิฐ ช่างจะต้องใช้เวลาในการเตรียมงาน ได้แก่ การเตรียมวัสดุ เครื่องมือ และสถานที่ก่อสร้างให้พร้อมก่อนลงมือทำ
-
ทำความสะอาดพื้นที่ให้เรียบร้อยก่อนทำการก่ออิฐ โดยการกวาดและล้างให้ปราศจากฝุ่น สกัดเสาหรือคาน ปัดเศษปูน ราดน้ำให้สะอาด
-
ถ้าจุดที่จะทำการก่ออยู่ในจุดที่มีแดดส่อง แนะนำให้หาผ้าใบมาขึงบังแดด เพื่อไม่ให้ปูนแห้งเร็วเกินไป
-
ควรทำความสะอาดผิวอิฐเพื่อกำจัดฝุ่นผงและพรมน้ำให้ทั่วถึง ช่วยป้องกันวัสดุดูดน้ำจากปูนเร็วเกินไป ทำให้เนื้อปูนยึดเกาะกับอิฐได้อย่างเต็มที่
2. การผสมปูนสำหรับการก่ออิฐ
การผสมปูนสำหรับก่ออิฐทั้ง 2 ประเภท โดยทั่วไปให้ผสมปูนและทรายหยาบ ในอัตราส่วน ปูน 1 ส่วน ต่อ ทรายหยาบ 3 ส่วน ผสมกันน้ำให้มีความข้นหนืด ไม่เหลวเกินไป
-
ผสมปูนตามอัตราส่วน ปูน 1 ส่วนทรายหยาบ 3 ส่วน และน้ำ 1 ส่วน ตอนผสมค่อย ๆ ใส่น้ำลงไปในระหว่างผสม อย่าเทน้ำลงไปทีเดียว เพื่อป้องกันไม่ให้เนื้อปูนเหลวเกินไป
-
ถ้าปูนสามารถปั้นเป็นตัวไม่เละไหล หรือ หลุดร่วนสามารถนำไปก่ออิฐได้
-
ในกรณีของอิฐมวลเบา ควรใช้ปูนก่อเฉพาะที่มีคุณสมบัติเดียวกับปูนกาว สามารถช่วยยึดก้อนอิฐได้ดีกว่าปูนทรายเป็นอย่างมาก ควรผสมปูนด้วยอัตราส่วน ปูน 2.5 ต่อน้ำสะอาด 1 ส่วน
3. ขั้นตอนการก่ออิฐ
เริ่มจากการทำความสะอาดพื้นที่ก่อน โดยการกวาดและล้างให้ปราศจากฝุ่น จากนั้นจึงเริ่มงานอิฐก่อสร้างตามขั้นตอนดังนี้ค่ะ
- หาแนวระยะและดิ่ง ของผนังตามแบบที่กำหนด
- ก่ออิฐแถวแรกโดยมีการขึงเอ็น เพื่อตรวจสอบแนวและระดับ
- ก่ออิฐแถวถัด ๆ ไป ต้องตรวจสอบแนวกับระดับควบคู่กัน โดยใช้วิธีก่อบริเวณริมสองด้านสูงขึ้นก่อน และการขึงเอ็นเป็นแนวช่วยตรวจสอบ
- ทำการตรวจระดับทุก ๆ 5 ชั้น โดยใช้ระดับน้ำ ความสูงในการก่อไม่ควรเกิน 1.2 ม. เพื่อป้องกันไม่ให้ผนังอิฐที่ก่อไว้ล้ม
- หลังจากก่ออิฐชั้นแรกเสร็จแล้ว ชั้นต่อ ๆ ไป ให้ใช้วิธีก่อแบบเดียวกับชั้นแรก โดยให้ก่อแบบสลับฟันปลาจะสามารถเพิ่มความแข็งแรงให้มีมากขึ้น
- คานทับหลังและเสาเอ็นควรหล่อเป็นกรอบทุก ๆ 9 ตรม.
- กรณีก่อชนท้องคานคอนกรีต ควรก่อแล้วเว้นระยะไว้ราว 10 ซม. ทิ้งให้ผนังก่ออิฐแข็งและหดตัวแน่นก่อน จึงก่อปิดส่วนนี้
- กรณีก่อไม่ชนคานคอนกรีต ให้ทำคานทับหลังด้านบนอีกแนวหนึ่ง
- แนวผนังก่อชนกับเสาคอนกรีต จะต้องเสียบเหล็กหนวดกุ้ง (ขนาด 6 มม.) ทุกระยะ 0.0-0.4 ม. เพื่อความแข็งแรงของผนังก่อ
- การเสริมเหล็กเส้น เพื่อเตรียมไว้ยึดกับเสาเอ็นทับหลังยึดวงกบประตู หน้าต่างที่จะติดตั้งต่อไป
-
คานทับหลัง และเสาเอ็นควรหล่อรอบวงกบประตูหน้าต่าง
4. การบ่มผนังอิฐ
การบ่มผนังให้มีความชื้นสม่ำเสมอ ช่วยชะลอการสูญเสียน้ำของเนื้อปูน ส่งผลให้ผนังมีความแข็งแรงและลดโอกาสแตกร้าว
-
เมื่อก่ออิฐไปแล้ว 24 ชั่วโมง ให้กลับมาบ่มน้ำ ด้วยการรดน้ำสะอาดบนผิวผนังให้ชุ่มชื้นสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ต่อไปอีก 3 7 วัน
-
ถ้าอากาศแห้ง มีลมพัด หรือสัมผัสแดดแรงจ้า ให้เพิ่มการรดน้ำเป็น 2-3 ครั้งต่อวัน และเพิ่มระยะเวลาการรดน้ำออกไปจนครบ 1 สัปดาห์
-
หลังจากก่ออิฐบล็อกเสร็จแล้ว ควรปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลา 3 วัน เพื่อให้ปูนแข็งตัว โดยในระหว่างนั้นให้ทำการบ่มผนังด้วยการราดน้ำลงบนผนังให้ชุ่มอย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง ทำอย่างต่อเนื่องจนครบ 1 สัปดาห์ จะช่วยลดปัญหาการแตกร้าว
เทคนิคเพิ่มเติม ถ้ามีการก่ออิฐในบริเวณแดดลมแรง จะต้องมีการขึงผ้าใบเพื่อลดการสัมผัสกับอากาศที่จะพัดความชื้นออกจากผนังเร็วเกินไป เพื่อให้ผนังที่ได้แข็งแรงทนทานไม่แตกร้าวโดยง่าย
5. เทคนิคการก่ออิฐให้แข็งแรง
นอกจากขั้นตอนพื้นฐานในการก่ออิฐแล้ว ยังมีเทคนิคเพิ่มเติม ทั้งการก่ออิฐเต็มแผ่น การก่ออิฐครึ่งแผ่น และการก่ออิฐสองชั้น ช่วยให้ผนังมีความแข็งแรงทนทานมากขึ้นค่ะ
การก่ออิฐครึ่งแผ่น คือ การนำอิฐแดงก่อในด้านยาวตามความยาวของผนัง โดยที่ความหนาของผนังจะเท่ากับขนาดของก้อนอิฐที่ใช้งาน เหมาะสำหรับผนังทั่วไป
ก่ออิฐเต็มแผ่น คือ วิธีการก่อผนังที่วางอิฐในแนวขวางตามความยาวของผนัง โดยมีการวางสลับแถวทุก ๆ 2 ก้อน ทำให้มีความงามมากกว่าการก่ออิฐครึ่งแผ่น และมีความแข็งแรงมากกว่า
การก่ออิฐแบบ 2 ชั้น นำเอาเทคนิคการก่ออิฐแบบครึ่งแผ่นมาประยุกต์จนเกิดเป็นการก่ออิฐแบบ 2 ชั้น โดยที่มีการเว้นช่องระหว่างกลางเอาไว้ราว 5-10 เซนติเมตร เพื่อการเพิ่มฟังก์ชันให้กับกำแพง เช่น การเพิ่มแผ่นฉนวนกันความร้อน และฉนวนกันเสียง
สรุป
การเลือกใช้ อิฐ ให้เข้ากับพื้นที่ใช้งานแต่ละส่วนมีความจำเป็น ผนังภายนอกที่ต้องรับสภาพอากาศควรใช้อิฐมอญเพื่อความแข็งแกร่ง ขณะที่ห้องนอนใช้อิฐมวลเบาช่วยป้องกันความร้อนกับเสียงรบกวน ส่วนห้องน้ำห้องครัวที่มีความชื้นสูง อิฐมอญหรืออิฐขาวจะทนทานกว่า สำหรับงานที่เน้นความเร็วและควบคุมค่าใช้จ่าย อิฐบล็อกก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งค่ะ
ขั้นตอนการก่ออิฐที่ถูกต้องคือสิ่งสำคัญ ตั้งแต่การเตรียมพื้นผิว การผสมปูนให้ได้ส่วน การเรียงอิฐตามหลักการ และการบ่มผนังให้มีความชื้นพอดี ล้วนส่งผลให้ผนังมีความแข็งแรงทนทาน ป้องกันการแตกร้าวหรือปัญหาในระยะยาว
ความเข้าใจเรื่องอิฐก่อสร้างกับขั้นตอนการทำงาน ช่วยให้เจ้าของบ้านเลือกวัสดุได้เข้ากับงาน พร้อมตรวจดูการทำงานของช่างให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ เพื่อให้ได้บ้านที่มีคุณภาพ แข็งแรง และคงทนถาวรค่ะ